ทำไมดาวเทียมถึงค้างฟ้า Satellite
ทำไมดาวเทียมถึงได้ค้างอยู่บนฟ้าโดยไม่ถูกแรงดึงดูดของโลกดูดให้ตกลงมาเหมือนลูกอุกกาบาต และการโคจรของดาวเทียมนั้นใช้อะไรบังคับ
ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่า ดาวเทียมคือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศ และถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก และวัตถุดังกล่าวยังใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย ทั้งนี้ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีระยะเวลาโคจรรอบโลกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดและระยะห่างของวงโคจร
ประเภทของดาวเทียมแบ่งโดยอาศัยลักษณะของการทำงาน เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมเพื่อการเดินเรือ ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมเพื่อการศึกษา และดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกด้วย
การที่ดาวเทียมไม่ถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้ตกลงมาเหมือนลูกอุกกาบาตนั้น ก็เพราะดาวเทียมเคลื่อนที่รอบโลกด้วยพลังงานไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานเชื้อเพลิง เป็นวงกลมตลอดเวลาด้วยความเร็วสูงคงที่ นอกจากนี้วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมล้วนมี “แรงสู่ศูนย์กลาง” ซึ่งทำให้ดาวเทียมไม่หลุดออกนอกวงโคจรของโลกไป
สำหรับตัวอย่างการโคจรของดาวเทียม สามารถเห็นได้ชัดเจนจาก การโคจรของดาวเคราะห์ เช่น ดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ทั้งนี้ถ้าดวงจันทร์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ลดลง ดวงจันทร์ก็จะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้ตกลงมาสู่โลก
ขณะที่ จรวดจะเป็นตัวบังคับและลากดาวเทียมขึ้นไปในอวกาศ ด้วยอัตราความเร็ว 8 กิโลเมตรต่อวินาที ในระดับความเร็วนี้เองที่ทำให้ดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรของโลก
ทั้งนี้ ดาวเทียมที่อยู่สูงประมาณ 36,000 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก จะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก เพราะต้องวนเป็นวงกลม 1 รอบ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้นเราจึงได้เห็นดาวเทียมปรากฏอยู่กับที่
ในปัจจุบันบนอวกาศมีดาวเทียมมากกว่า 5,000 ดวง หลังจากที่ดาวเทียมสปุตนิก ดาวเทียมสัญชาติรัสเซียซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 4 ตุลาคม ในปี 1957
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น