สักวา หมายถึงอะไร sakkawa
บทกลอน แบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ รวมไปถึง สักวา หรือ กลอนสักวา และบทกลอนนับเป็นบทร้อยกรองไทย ที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย มากกว่าบทร้อยกรองชนิดอื่น อาจเป็นเพราะความอ่านง่ายแต่งง่าย อย่างไรก็ตาม การจัดประเภทของกลอน ยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการผู้เขียนตำรา เกี่ยวกับร้อยกรองไทย ก็แบ่งประเภทแตกต่างกันไป ตามความคิดเห็นของตนเอง
สักวา
สักวา เป็นกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อร้องเล่นโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กลอนสักวากำหนดลักษณะเฉพาะไว้ดังนี้
1. กลอนสักวาบทหนึ่งมี 4 คำกลอน
2. จังหวะแรกของวรรคขึ้นต้นบทด้วยคำว่า " สักวา "
3. คำสุดท้ายของบทลงท้ายด้วย " เอย "
4. สัมผัสบังคับ เป็นสัมผัสสระ ลักษณะอย่างกลอนทั่วไป
ผังโครงสร้างกลอนสักวา
1) แสดงผังโครงสร้างกลอนสักวา ความยาว 1 บท
2) สักวา 1บท มี 4 คำกลอน หรือ 8 วรรค
3) สักวา 1 วรรค นิยมเขียน 7-10 คำ
4) เส้นโยงภายในวรรค เรียกว่าสัมผัสใน ส่วนเส้นโยงคำท้ายวรรค เรียกว่า สัมผัสนอก
5) กลอนสักวาต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "สักวา" และจบด้วยคำว่า "เอย" เสมอ
6) ลักษณะบังคับอื่น ๆ เช่น เรื่องเสียงท้ายวรรคการชิงสัมผัส สัมผัสซ้ำ สัมผัสเลือน และสัมผัส ทีฆะรัสสะ นั้น คงใช้หลักเกณฑ์ เดียวกันกับ กลอนแปด
7) กลอนสักวา และกลอนแปด บรรทัดสุดท้ายของบท นอกจากสัมผัสคำที่ 3 แล้วอาจเลิ่อนไปสัมผัสตรงคำที่ 5 ก็ได้
ตัวอย่างกลอนสักวา
สักวาหน้าฝนถนนเปรอะ ดูแฉะเฉอะโคลนตมถมวิถี ฟ้าพยับอับแสงแห่งสุรีย์ ปฐพีน้ำท่วมท้นล้นเจิ่งนอง จะเดินตรอกซอกซอยพลอยเปียกหมด เสียงล้อรถน้ำซ่านซ่าพาหม่นหมอง รองเท้าเปียกเปื่อยพังลงนั่งมอง น้ำไหลนองท้วมท้นถนนเอย
ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2
สักวา
สักวา เป็นกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อร้องเล่นโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กลอนสักวากำหนดลักษณะเฉพาะไว้ดังนี้
1. กลอนสักวาบทหนึ่งมี 4 คำกลอน
2. จังหวะแรกของวรรคขึ้นต้นบทด้วยคำว่า " สักวา "
3. คำสุดท้ายของบทลงท้ายด้วย " เอย "
4. สัมผัสบังคับ เป็นสัมผัสสระ ลักษณะอย่างกลอนทั่วไป
ผังโครงสร้างกลอนสักวา
1) แสดงผังโครงสร้างกลอนสักวา ความยาว 1 บท
2) สักวา 1บท มี 4 คำกลอน หรือ 8 วรรค
3) สักวา 1 วรรค นิยมเขียน 7-10 คำ
4) เส้นโยงภายในวรรค เรียกว่าสัมผัสใน ส่วนเส้นโยงคำท้ายวรรค เรียกว่า สัมผัสนอก
5) กลอนสักวาต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "สักวา" และจบด้วยคำว่า "เอย" เสมอ
6) ลักษณะบังคับอื่น ๆ เช่น เรื่องเสียงท้ายวรรคการชิงสัมผัส สัมผัสซ้ำ สัมผัสเลือน และสัมผัส ทีฆะรัสสะ นั้น คงใช้หลักเกณฑ์ เดียวกันกับ กลอนแปด
7) กลอนสักวา และกลอนแปด บรรทัดสุดท้ายของบท นอกจากสัมผัสคำที่ 3 แล้วอาจเลิ่อนไปสัมผัสตรงคำที่ 5 ก็ได้
ตัวอย่างกลอนสักวา
สักวาหน้าฝนถนนเปรอะ ดูแฉะเฉอะโคลนตมถมวิถี ฟ้าพยับอับแสงแห่งสุรีย์ ปฐพีน้ำท่วมท้นล้นเจิ่งนอง จะเดินตรอกซอกซอยพลอยเปียกหมด เสียงล้อรถน้ำซ่านซ่าพาหม่นหมอง รองเท้าเปียกเปื่อยพังลงนั่งมอง น้ำไหลนองท้วมท้นถนนเอย
ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น