ที่ราชพัสดุ คืออะไร?
ราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ
ที่ดินราชพัสดุมีมาตั้งแต่เมื่อใด
ความเดิมเรื่องที่ราชพัสดุนั้นมิได้มีไว้เป็นที่แจ้งชัดโดยกฎหมายใดมีแต่เฉพาะพระบรมราชโองการรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมีนาคม ๒๔๖๔ ที่ทรงวินิจฉัยคํากราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติในขณะนั้นมีใจความว่า
(ก) ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์คงพระคลังอย่างหนึ่ง
(ข) มีคงกระทรวงมาแต่เดิม บ้างได้มาด้วยการเป็นที่หลวงหวงห้ามไว้ใช้ในราชการ บ้างด้วยการที่ราษฎรเวนคืนให้แก่หลวงบ้าง หรือได้รับหรือยึดจากเจ้าหน้าที่ภาษีนายอากรก็มี
(ค) ทรัพย์นี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ
(ง) ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดการรวบรวมทรัพย์ จากกระทรวงต่างๆมาปกครองดูแลรักษาไว้แต่แห่งเดียว
(จ) เมื่อกระทรวงใดจะใช้เพื่อราชการใดก็ให้ยืมไปโดยไม่ต้องเช่า(เมื่อเลิกใช้ให้ส่งคืนกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ)
(ฉ) ที่แห่งใดยังมิได้ใช้ราชการ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัตินําไปจัดประโยชน์หารายได้เข้าแผ่นดิน
(ช) ที่ใดควรขายก็ให้ขายไปเคยมีการพิจารณาในทางกฎหมายว่าพระบรมโองการฯในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผลเป็นกฎหมายเพราะใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรม เสมือนพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมในปัจจุบันที่กําหนดอํานาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆและโดยที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดลบล้างพระบรมราชโองการนี้ แม้ปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. ๒๕๑๘พระบรมราชโองการส่วนใดที่ไม่ขัดแย้งหรือที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังไม่ได้กําหนดไว้ก็ยังมีผลใช้บังคับได้
ที่ราชพัสดุกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ
ที่ราชพัสดุ คือ อสังหาริมพรัพย์ของรัฐบาลไทย ที่ตั้งอยู่ภายในประเทศ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ ในต่างประเทศ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธ์เช่นเดียวกัน แต่ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ การเก็บรักษาเอกสารสิทธิ์และการจัดทำทะเบียน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้เก็บรักษาต้นฉบับเอกสารสิทธิ์และจัดทำทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ การใช้การปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่ได้รับมอบอำนาจจากระทรวงการคลัง เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การซื้อให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้จัดซื้อเพื่อใช้ในราชการกระทรวงต่างประเทศหรือให้ส่วนราชการอื่น เป็นผู้จัดซื้อเพื่อใช้ในราชการของส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้มอบอำนาจให้เป็นผู้ทำนิติกรรมและรับโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์นั้น การขาย การแลกเปลี่ยน การให้การจำหน่ายจ่ายโอน หรือจัดหาประโยชน์ (ถ้ามี) ให้มีคณะกรรมการถาวรขึ้น คณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์เป็นกรรมการและอธิบดีกรมธนารักษ์เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่พิจารณาเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการขาย แลกเปลี่ยน ให้ จำหน่าย โอน หรือจัดหาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ส่วนราชการผู้ครอบครอง และใช้ประโยชน์ไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นอีกต่อไป โดยให้ส่วนราชการดังกล่าวทำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว กระทรวงการคลังก็จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการไปดำเนินการต่อไปเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้ส่วนราชการนั้นแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบส่วนรายได้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมธนารักษ์
สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คลังปัญญาไทย
http://www.kroobannok.com/37317
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ
ที่ดินราชพัสดุมีมาตั้งแต่เมื่อใด
ความเดิมเรื่องที่ราชพัสดุนั้นมิได้มีไว้เป็นที่แจ้งชัดโดยกฎหมายใดมีแต่เฉพาะพระบรมราชโองการรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมีนาคม ๒๔๖๔ ที่ทรงวินิจฉัยคํากราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติในขณะนั้นมีใจความว่า
(ก) ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์คงพระคลังอย่างหนึ่ง
(ข) มีคงกระทรวงมาแต่เดิม บ้างได้มาด้วยการเป็นที่หลวงหวงห้ามไว้ใช้ในราชการ บ้างด้วยการที่ราษฎรเวนคืนให้แก่หลวงบ้าง หรือได้รับหรือยึดจากเจ้าหน้าที่ภาษีนายอากรก็มี
(ค) ทรัพย์นี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ
(ง) ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดการรวบรวมทรัพย์ จากกระทรวงต่างๆมาปกครองดูแลรักษาไว้แต่แห่งเดียว
(จ) เมื่อกระทรวงใดจะใช้เพื่อราชการใดก็ให้ยืมไปโดยไม่ต้องเช่า(เมื่อเลิกใช้ให้ส่งคืนกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ)
(ฉ) ที่แห่งใดยังมิได้ใช้ราชการ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัตินําไปจัดประโยชน์หารายได้เข้าแผ่นดิน
(ช) ที่ใดควรขายก็ให้ขายไปเคยมีการพิจารณาในทางกฎหมายว่าพระบรมโองการฯในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผลเป็นกฎหมายเพราะใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรม เสมือนพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมในปัจจุบันที่กําหนดอํานาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆและโดยที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดลบล้างพระบรมราชโองการนี้ แม้ปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. ๒๕๑๘พระบรมราชโองการส่วนใดที่ไม่ขัดแย้งหรือที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังไม่ได้กําหนดไว้ก็ยังมีผลใช้บังคับได้
ที่ราชพัสดุกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ
ที่ราชพัสดุ คือ อสังหาริมพรัพย์ของรัฐบาลไทย ที่ตั้งอยู่ภายในประเทศ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ ในต่างประเทศ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธ์เช่นเดียวกัน แต่ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ การเก็บรักษาเอกสารสิทธิ์และการจัดทำทะเบียน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้เก็บรักษาต้นฉบับเอกสารสิทธิ์และจัดทำทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ การใช้การปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่ได้รับมอบอำนาจจากระทรวงการคลัง เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การซื้อให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้จัดซื้อเพื่อใช้ในราชการกระทรวงต่างประเทศหรือให้ส่วนราชการอื่น เป็นผู้จัดซื้อเพื่อใช้ในราชการของส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้มอบอำนาจให้เป็นผู้ทำนิติกรรมและรับโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์นั้น การขาย การแลกเปลี่ยน การให้การจำหน่ายจ่ายโอน หรือจัดหาประโยชน์ (ถ้ามี) ให้มีคณะกรรมการถาวรขึ้น คณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนส่วนราชการ ผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์เป็นกรรมการและอธิบดีกรมธนารักษ์เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่พิจารณาเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการขาย แลกเปลี่ยน ให้ จำหน่าย โอน หรือจัดหาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ส่วนราชการผู้ครอบครอง และใช้ประโยชน์ไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นอีกต่อไป โดยให้ส่วนราชการดังกล่าวทำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว กระทรวงการคลังก็จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการไปดำเนินการต่อไปเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้ส่วนราชการนั้นแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบส่วนรายได้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมธนารักษ์
สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คลังปัญญาไทย
http://www.kroobannok.com/37317
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น